|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ตำบลโสกปลาดุก เริ่มก่อตั้งปี พ.ศ. 2497 โดยนายสี หอมสมบัติ นายขุน ปานาสา และนายสวาท สีชัยยันต์ ได้อพยพครอบครัวมาจากบ้านเพ็ชร ตำบลหนองช้างตาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา มาอยู่เป็นครอบครัวแรก และได้สำรวจพื้นสภาพพื้นที่ทั่วไป ได้เป็นเจอลำห้วยขนาดเล็กแห่งหนึ่งมีลักษณะถูกน้ำกัดเซาะ เป็นโสกกว้างมีปลาดุกชนิดเดียว ที่อาศัยอยู่ในโสกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกว่าโสกปลาดุก จึงได้นำชื่อมาตั้งหมู่บ้าน และยกฐานะเป็นชื่อตำบลโสกปลาดุกมาจนถึงปัจจุบันนี้ |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลโสกปลาดุก ยกฐานะในปี พ.ศ. 2539 และปรับเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553 |
|
|
|
|
|
ที่ตั้งตำบลโสกปลาดุก อยู่ในเขตอำเภอหนองบัวระเหว ห่างจากจังหวัดชัยภูมิ 38 กิโลเมตร พื้นที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด ห่างจากอำเภอหนองบัวระเหวไปทางทิศใต้ตามทางหลวงหมายเลข 2354 ประมาณ 4 กิโลเมตร ตำบลโสกปลาดุก มีเนื้อที่ทั้งหมด 33.76 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,000 ไร่ |
|
|
|

|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
อบต.โคกสะอาด |
อ.หนองบัวระเหว |
จ.ชัยภูมิ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
อบต.ท่ากูบ |
อ.ซับใหญ่ |
จ.ชัยภูมิ |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ทต.หนองบัวระเหว, อ.หนองบัวระเหว |
อบต.ส้มป่อย, อ.จัตุรัส |
จ.ชัยภูมิ |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
อบต.นายางกลัก |
อ.เทพสถิต |
จ.ชัยภูมิ |
|
|
|
    |
|

|
|
|
|
พื้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่มีภูเขา สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย |
|
|
|
|
|
|
ลักษณะภูมิอากาศทั่วไปของจังหวัดชัยภูมิ อยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุม 2 ชนิด ได้แก่ |

 |
มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เริ่มตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์) มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลีย และจีนพัดพาเอามวลอากาศเย็น และแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุม |
|
|
|
ประเทศไทย ทำให้บริเวณจังหวัดชัยภูมิประสบกับภาวะอากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งโดยทั่วไป |

 |
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม) มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูง ในซีกโลกใต้บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตรพัดพาเอามวลอากาศชื้น จากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย ทำให้บริเวณจังหวัดชัยภูมิมีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป |
ฤดูกาลของจังหวัดชัยภูมิ แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู โดยระยะเวลาในแต่ละฤดูคลาดเคลื่อนไปตามสภาพดินฟ้าอากาศ ของแต่ละปี มีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว อากาศร้อนจัดในฤดูร้อน และช่วงฝนสลับกับช่วงแห้งแล้ง แตกต่างกันอย่างชัดเจนตามห้วงเวลาตามฤดูกาล ดังนี้ |

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ |

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม |

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม |
|
|
|
|
|

 |
การเกษตร |
|
พื้นที่ของตำบลโสกปลาดุก มีกลุ่มดินที่เหมาะสมกับการเกษตร เกษตรกรส่วนใหญ่ของ องค์การบริหารส่วนตำบล ทำการปลูกพืชไร่และพืชนา เช่น มันสำปะหลัง อ้อย พริก ข้าว และข้าวโพด ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจมีแหล่งแปรรูปผลผลิต อยู่บริเวณใกล้เคียง จึงส่งผลให้ผลผลิตจากการเกษตร ทำเงินรายได้ให้แก่เกษตรกรได้สูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่า การผลิตในสาขาอื่นๆ |
|
|

 |
การปศุสัตว์ |
|
พื้นที่ของตำบลโสกปลาดุกในบางแห่งเป็นทุ่งกว้างเหมาะสม กับการเลี้ยงสัตว์ซึ่งขณะนี้เกษตรกรในองค์การบริหารส่วนตำบลโสกปลาดุก ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้เป็นตำบลอนุรักษ์กระบือ กลุ่มเลี้ยงโคเนื้อ ซึ่งอุณหภูมิ และภูมิอากาศเหมาะสมอย่างยิ่ง ทำให้ผลิตผลที่ได้จากสัตว์มีคุณภาพ |
|
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 4,281 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 2,141 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.01 |

 |
หญิง จำนวน 2,140 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.99 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,305 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 129.81 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านท่าช้าง |
279 |
306 |
585 |
180 |
|
 |
2 |
|
บ้านโสกปลาดุก |
564 |
545 |
1,109 |
333 |
 |
|
3 |
|
บ้านหนองตานา |
415 |
421 |
836 |
251 |
|
 |
4 |
|
บ้านหนองบัวน้อย |
195 |
200 |
395 |
124 |
 |
|
5 |
|
บ้านหนองคลอง |
172 |
139 |
311 |
103 |
|
 |
6 |
|
บ้านดอนตะโก |
77 |
66 |
143 |
42 |
 |
|
7 |
|
บ้านดอนชุมช้าง |
238 |
240 |
478 |
130 |
|
 |
8 |
|
บ้านท่าบอน |
201 |
223 |
424 |
142 |
 |
|
 |
|
|
รวมทั้งสิ้น |
2,141 |
2,140 |
4,281 |
1,305 |
 |
ข้อมูล ณ เดือน พฤศจิกายน 2559 (ที่มา : สำนักงานทะเบียนอำเภอหนองบัวระเหว) |
|
|
  |
|
|
|
  |
|
 |
|
|
|
|
|
เว็บไซต์ในเครือข่าย อปท. จ.ชัยภูมิ
|
|
 |
|
|
|
|